วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อควรปฏิบัติ และพึงระวัง เมื่อไปนิวยอร์ก


     1. ห้ามนำอาหารสด เนื้อสัตว์ (ยกเว้นอาหารทะเล) ผักสด ผลไม้ และนมสดเข้าสหรัฐฯ โดยเด็ดขาด

     2. เนื่องจากความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัย ทางการสหรัฐฯ มีสิทธิ์ที่จะยึดเก็บหรือทำลายสัมภาระใดๆ ทันทีหากเจ้าของทิ้งสัมภาระใดๆ ในที่สาธารณะโดยไม่มีผู้ดูแล โดยเฉพาะในสนามบิน และสถานีรถไฟใต้ดิน โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

     3. ควรจะพกบัตรเครดิตติดตัวเพื่อความปลอดภัยและไม่ประมาท สำหรับเงินสดไม่ควรพกติดตัวเป็นจำนวนมาก

     4. ควรเตรียมเสื้อผ้าสำรองติดตัวไว้ในกรณีที่ออกเดินทางสัญจร โดยเฉพาะในฤดูหนาว เนื่องจากลมแรงและอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

     5. การคืน/ แลกเปลี่ยนสินค้า : เมื่อซื้อสินค้าใดๆ จากห้างร้านทุกแห่งควรเก็บใบเสร็จเอาไว้ทุกฉบับ เนื่องจากประเทศสหรัฐฯ มีนโยบายในการให้สิทธิในการคืน/ เปลี่ยน สินค้าได้ (ส่วนใหญ่ภายในระยะเวลา 1 เดือน) แต่มีเงื่อนไขว่า สภาพจะต้องเหมือนเดิม พร้อมแสดงใบเสร็จเป็นหลักฐานในการคืนสินค้า กรณีขอเปลี่ยนสินค้าจะต้องทำเรื่องคืนสินค้าเดิมก่อน แล้วจึงซื้อสินค้าตัวใหม่ได้ ที่สำคัญ หากซื้อด้วยบัตรเครดิต ผู้ขายจะเรียกใช้บัตรเครดิตเดิมสำหรับกระบวนการคืนหรือแลกเปลี่ยนสินค้า

     6. อย่าทิ้งกระเป๋าถือหรือใส่ของมีค่าไว้ในกระเป๋า เพราะอาจถูกขโมยไปได้ทุกเวลา

     7. ควรจะมี Credit card มาก่อนอย่างน้อย 1 ใบ เพราะจะทำให้สะดวกในการขอ Credit card ที่สหรัฐฯ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน

     8. ระมัดระวังกระเป๋าและของมีค่าในขณะที่อยู่ในฝูงชน โดยเฉพาะในขณะขึ้นรถประจำทาง รถไฟใต้ดิน หรือขณะรอเข้าแถวซื้อของ

     9. อย่าเก็บกระเป๋าสตางค์ไว้ที่กระเป๋ากางเกงด้านหลัง

     10. ถ้าถูกล้วงกระเป๋าไม่ต้องกลัวที่จะร้องขอความช่วยเหลือ

     11. อย่าทิ้งของมีค่าไว้ในรถยนต์แต่ให้เก็บไว้ในที่เก็บของท้ายรถ

     12. อย่าทิ้งใบอนุญาตขับรถ หรือใบจดทะเบียนรถไว้ในรถยนต์

     13. ในกรณีเกิดเหตุร้าย ติดต่อตำรวจได้ที่หมายเลข 911

     14. เพิ่มกุญแจล็อกประตูบ้านหรือติดสัญญาณกันขโมยบริเวณประตูหรือหน้าต่าง หรือติดเหล็กดัดหน้าต่าง กรณีที่พักอยู่ชั้นล่าง

     15. สำหรับเด็กเล็กที่จะเข้าโรงเรียน ต้องนำสมุดคู่มือฉีดวัคซีนพร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ และใบรับรองแพทย์ภาษาอังกฤษมาด้วย 

     หน่วยราชการไทย สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ เมืองบอสตัน โทรศัพท์ (617) 720-THAI โทรสาร (617) 227-2306 

     สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 482-0077 โทรสาร (212) 482-1177 

     สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 422-9009 โทรสาร (212) 422-9119 

     สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 482-0433 โทรสาร (212) 269-2588 

     บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 944-THAI โทรสาร (212) 286-0082 

     หากท่านจะอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลานาน โปรดแจ้งชื่อ และที่อยู่ ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ/สถานกงสุลฯ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ หรือให้ความช่วยเหลือในกรณีจำเป็น 

    กงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก เลขที่ 351 East 52nd street (ระหว่าง 1st Avenue และ 2nd Avenue), New York, NY 10022 

     โทรศัพท์ (212) 754-1770 โทรสาร (212) 754-1907

     วันทำการ จันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์-อาทิตย์ 

     เวลาทำการ 09.00-12.30น.และ13.30-16.30 น.โดยมีเจ้าหน้าที่ให้บริการในด้านกงสุลและนิติกรณ์ 

     รวมทั้งดูแลและรักษาผลประโยชน์ของคนไทยที่อาศัยอยู่ในมลรัฐ เขตอาณาที่รับผิดชอบ ได้แก่ New York, New Jersey, New Hampshire, Vermont, Maine, Rhode Island, Ohio, Pennsylvania, Massachusetts และ Connecticut 

     กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2575 1046-51 โทรสาร 0 2575 1052 



ข้อมูลโดย :
 กระทรวงการต่างประเทศ 

การคมนาคมของนิวยอร์ก


     สำหรับนครนิวยอร์ก การคมนาคมทางรถไฟใต้ดิน และรถประจำทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งสะดวกประหยัดและรวดเร็ว โดยสามารถหาซื้อบัตรโดยสาร (ใช้บริการได้ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถประจำทาง) ได้ที่สถานีรถไฟใต้ดินทุกแห่ง (มีทั้งซื้อได้ด้วยเงินสดจากเคาเตอร์ หรือใช้บัตรเครดิตที่เครื่องขายบัตรอัตโนมัติ) สามารถขอแผนที่รถไฟฯ ได้ที่เจ้าหน้าที่ฯในสถานีฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด 

     หรืออาจหาซื้อได้ตามร้านขายของชำที่มีตรา MTA ( Metropolitan Tranportation Authority) ในราคา 2.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเที่ยว หากซื้อ ตั๋ววันก็ใช้ได้ไม่จำกัดเที่ยวใน 1 วัน และหากพำนักมากกว่า1 สัปดาห์ ก็ขอให้ซื้อบัตรโดยสารประเภท"ขึ้นไม่จำกัดเที่ยว" แต่จำกัดภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์เท่านั้น ในราคา 24 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีรถแท็กซี่มิเตอร์ (สีเหลือง) วิ่งรับ-ส่ง ผู้โดยสารตลอด 24 ชั่วโมง เช่นกัน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในชั่วโมงเร่งด่วน เพราะต้องใช้เวลารอนานมาก 

     สำหรับผู้ที่จะใช้บริการรถเช่าในนครนิวยอร์ก ทางการนิวยอร์กจะไม่อนุญาตให้ใช้ใบขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศ และจะอนุญาตเฉพาะใบขับขี่ที่ออกโดยรัฐนิวยอร์กเท่านั้น อย่างไรก็ดี สถานที่สำหรับจอดรถชั่วคราวมีน้อย และคิดค่าบริการจอดรถมีราคาสูงมาก 

     สำหรับผู้สัญจรทั่วไปในนครนิวยอร์ก ควรศึกษาระบบถนน และเส้นทางในแผนที่ก่อนออกเดินทาง สามารถขอแผนที่จากเคาเตอร์โรงแรมทั่วไป โดยมีหลักสังเกต ดังนี้ 

     ถนนที่ตั้งอยู่ตามแนวขนานกับเกาะแมนฮัตตัน - เรียกว่า Avenue เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันออก ได้แก่ York, 1st, 2nd, 3rd, Lexington, Park, Madison, 5th, 6th,( Avenue of America), 7th(Fashion), 8th, 9th, 10th,11th 12th ถนนที่ตัดขวางกับเกาะแมนฮัตตันจะเรียกว่า Street ซึ่งจะเริ่มจากทางใต้ของเกาะขึ้นไปทางเหนือของเกาะ โดยเรียงตัวเลขจากน้อยไปหามาก และถนนส่วนใหญ่จะใช้ระบบเดินรถทางเดียว สำหรับการแบ่งเขตบนเกาะแมนฮัตตันจะใช้ถนน 5th Avenue เป็นหลักในการแบ่งเขตตะวันออกและตะวันตก 

ประวัติเมืองนิวยอร์ก

                                            
            เดิมทีของนิวยอร์กเป็นที่อยู่ของชนอเมริกันพื้นเมืองที่เรียกว่า “เลนาเป” (Lenape) ขณะนั้นมีประชากรประมาณ 5,000 คน ซึ่งอาศัยดินแดนแห่งนี้อยู่นานนับพันปี ก่อนที่จิโอวานี เดอ เวเรซาโน่ (Giovanni da Verrazzano) นักเดินเรือชาวอิตาเลียนจะค้นพบนิวยอร์กใน ค.ศ. 1524 โดยได้รับคำบัญชาจากราชวงศ์ฝรั่งเศส และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “Nouvelle Angoulême” (New Angoulême ในภาษาอังกฤษ
                      ค.ศ. 1614 ชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งรกรากอย่างจริงจัง โดยเริ่มก่อตั้งชุมชนค้าผ้าขนสัตว์ของชาวดัตช์ และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “นิว นีเดอร์แลนด์” (“Nieuw Nederland” ในภาษาดัตช์) เรียกท่าเรือและเมืองในตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” (Nieuw Amsterdam ในภาษาดัตซ์) มี Peter Minuit เป็นผู้ปกครองอาณานิคมนี้ ซึ่งต่อมาเขาได้ซื้อเกาะแมนแฮตตันทั้งหมดจากชนพื้นเมือง ใน ค.ศ. 1626 มูลค่าทั้งหมด 60 กิลเดอร์ (Guilders) หรือประมาณ $1,000 ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2006) แต่ต่อมามีข้อพิสูจน์ว่าไม่จริง กล่าวคือ เกาะแมนฮัตตันถูกซื้อไปด้วยลูกปัดที่ทำจากแก้วในราคา $24 ก่อนที่อังกฤษจะเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของตนใน ค.ศ. 1664 และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “นิวยอร์ก” เพื่อเกียรติให้กับ “ดยุคแห่งยอร์คและอัลแบนี” (English Duke of York and Albany) ขณะนั้นคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในช่วงปลายสงครามแองโกล-ดัตช์ครั้งที่ 2 ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ยึดครองเกาะรัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่มีค่ามากในขณะนั้น แลกกับการให้อังกฤษยึดครองนิวอัมสเตอร์ดัม หรือนิวยอร์กในดินแดนอเมริกาเหนือ ส่งผลให้ต่อมาใน ค.ศ. 1700 ประชากรชาวเลนาเปลดลงเหลือเพียง 200 คน
                    ภายใต้กฎระเบียบของอังกฤษ นิวยอร์กได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ใน ค.ศ. 1754มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้รับสิทธิจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ (King’s College) ที่แมนแฮตตันตอนใต้ ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติอเมริกา (American Revolution War) เนื่องจากอาณานิคมทั้งสิบสามที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษต้องการแยกตัวออกเป็นอิสระ และได้ทำการประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 นำโดยจอร์จ วอชิงตัน ผู้บัญชาการกองทัพภาคพื้นทวีปของฝ่ายอาณานิคม (Continental Army) มีการรบกับกองทัพอังกฤษทางตอนเหนือของแมนแฮตตัน และบรูคลิน จนกระทั่งสงครามได้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1783 โดยชัยชนะเป็นของอดีตอาณานิคมภายหลังสงครามยุติลงได้มีการจัดประชุมและประกาศให้นิวยอร์กเป็นเมืองหลวง (จนถึง ค.ศ. 1790[11]) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Constitution) จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรก และเข้าแถลงต่อสภาคองเกรสใน ค.ศ. 1789 รวมทั้งมีการร่างกฎบัตรว่าด้วยสิทธิของชาวอเมริกัน (United States Bill of Rights) ณ เฟดเดอรัลฮอล (Federal Hall) (ปัจจุบันคืออนุสรณ์สถานแห่งชาติ) ที่วอลล์สตรีท และถือเป็นการเริ่มต้นดินแดนใหม่ที่ถูกเรียกว่า “สหรัฐอเมริกา” ก่อนที่จะแผ่ขยายอาณาเขตของตนเองจาก 13 รัฐไปถึง 50 รัฐกับอีกหนึ่งเขตปกครองกลางใน ค.ศ. 1898 ได้มีการยกระดับฐานะของนิวยอร์กโดยการรวมเอาบรูคลิน เคาน์ตี้ นิวยอร์ก (ซึ่งรวมถึงส่วนของเดอะบรองซ์ด้วย) เคานตี้ ริชมอนด์ และส่วนตะวันตกของเคาน์ตี้ ควีนส์ เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้เป็นมหานครนิวยอร์กมาถึงปัจจุบัน

ไฟล์:GiovanniVerrazano.jpg
จิโอวานี เดอ เวเรซาโน่ ผู้ค้นพบและสำรวจนิวยอร์กเป็นคนแรก ใน ค.ศ. 1524

ไฟล์:Manhattan 1931.jpg
แมนฮัตตัน นิวยอร์กซิตี้ ในยุคแรก

ไฟล์:Castelloplan.jpg
แมนแฮตตันส่วนใต้ใน ค.ศ. 1660 ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนิวอัมสเตอร์ดัม

Credit : Wikipedia.com


เขตการปกครองนิวยอร์ก


            นิวยอร์กประกอบด้วย 5 โบโรฮ์ (Borough) โดยในแต่ละโบโรฮ์ก็จะและแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีกหลายเขตชุมชนย่อย (Neighborhoods) โดยที่โบโรฮ์จะขึ้นอยู่กับเทศมณฑล หรือ เคาน์ตี้ (County) โดยเป็นเขตการปกครองของรัฐนิวยอร์ก ศูนย์กลางของมหานครนิวยอร์กคือ แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของทั้งเมือง และถูกล้อมรอบด้วยโบโรฮ์อื่น
  • เดอะบรองซ์ (เคาน์ตี้ บรองซ์ : ประชากร 1,363,198 คน) โบโรฮ์ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของมหานครนิวยอร์ก เป็นที่ตั้งของสนามแยงกี้ สเตเดียม ถิ่นของทีมเบสบอล นิวยอร์ก แยงกี้ ขณะที่สวนสัตว์ในเขตเมืองที่ใหญที่สุดให้สหรัฐอเมริกา อย่าง สวนสัตว์บรองซ์ ก็อยู่ในโบโรฮ์นี้ เดอะบรองซ์ เป็นส่วนเดียวของมหานครนิวยอร์กที่ไม่ได้เป็นเกาะ (เป็นส่วนที่อยู่ติดกับแผ่นดินสหรัฐอเมริกา) และที่นี้ก็ยังเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมดนตรีแร็พ และ ฮิปฮอป ด้วย
  • บรูคลิน (เคาน์ตี้ คิงส์ : ประชากร 2,528,050 คน) เป็นโบโรห์ที่มีประชากรมากที่สุด มีทั้งเขตเขตธุรกิจและเขตที่อยู่อาศัย (นอกจากแมนแฮตตันแล้ว บรูคลินเป็นโบโรห์เดียวที่มีการแบ่งย่านดาวน์ทาวน์ที่ชัดเจน และเป็นเขตธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเมืองนิวยอร์ก) ในอดีตบรูคลินมีสถานะเป็นเมืองอิสระไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลของเมืองใด จนกระทั่ง ค.ศ. 1898 ได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหานครนิวยอร์ก บรูคลินเป็นที่รู้จักทางด้านความหลายหลายทางด้านผู้คน สังคม วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับศิลปะ และเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมยุคเก่าที่ตกทอดมาแต่อดีต โบโรห์นี้ยังมีสถานที่ที่โดดเด่น คือ ชายหาดที่ทอดตัวเป็นแนวยาว และโคนีย์ ไอส์แลนด์ (Coney Island) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1870 เป็นหนึ่งในสถานที่พักผ่อนที่น่าสนใจของประเทศนี้
  • ควีนส์ ตั้งอยู่ในเคาน์ตีควีนมีประชากร 2,225,486 คน เป็นเขตที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่มากที่สุดในบรรดา 5 เขต